ข่าวประชาสัมพันธ์ » พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชกาลที่ 5

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชกาลที่ 5

20 ตุลาคม 2021
153   0

เนื่องในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเป็น “วันปิยมหาราช” ถือเป็นวันสำคัญของชาติและรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ  เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอลอง จังหวัดแพร่ จึงพาย้อนรำลึกถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชกาลที่ 5 ดังนี้

 

รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป

ที่มาภาพ : Shopee BLOG

ด้านการทหารและการปกครองประเทศ : ทรงนำแบบอย่างทางทหารของประเทศแถบยุโรปมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย มีการจัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบกขึ้นเป็นครั้งแรก และทรงตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกและทหารเรือ ตลอดจนส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชาการทหารในทวีปยุโรป

 

ที่มาภาพ : ศิลปวัฒนธรรม

ด้านการปกครองประเทศ : ทรงให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ จากเดิมมี 6 กระทรวง และได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง ในส่วนภูมิภาคทรงให้จัดตั้ง “มณฑลเทศาภิบาล” ขึ้นเป็นครั้งแรก อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย

 

สยามกัมมาจล

ที่มาภาพ : ประชาชาติธุรกิจ

ด้านเศรษฐกิจและการคลัง : ทรงให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้น โดยทรงให้แยกเงินแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกัน และทรงให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบงก์สยามกัมมาจล หรือธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน

 

bsg09

ที่มาภาพ : SIRIWARIN

ด้านการศึกษา : ทรงให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวังจัดการเรียนการสอน แล้วขยายออกไปทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อให้ทั่วถึงประชาชน ทำให้การศึกษาของไทยได้รับการพัฒนา

 

ที่มาภาพ : ศิลปวัฒนธรรม

ด้านการต่างประเทศ : พระองค์ได้เห็นถึงความสำคัญของการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ในรัชสมัยของพระองค์จึงมีการส่งเอกอัครราชทูตไปประจำในต่างประเทศเป็นครั้งแรก และพระองค์ยังทรงเสด็จประพาสประเทศต่างๆ เพื่อนำวิทยาการสมัยใหม่มาพัฒนาประเทศ

 

ที่มาภาพ : จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย

ด้านการคมนาคมและสาธารณูปโภค : ทรงให้สร้างถนนขึ้นหลายสายและทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างสะพานข้ามคลองและทางรถไฟหลายแห่ง อาทิ สะพานเฉลิมสวรรค์เฉลิมศรี ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เป็นต้น

 

ที่มาภาพ : TERRA BKK

ด้านสาธารณูปโภค : ทรงมีพระราชดำริว่าประชาชนควรมีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค พระองค์จึงทรงให้ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้น นอกจากนี้ พระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นค่าก่อสร้างโรงพยาบาลวังหลัง (ซึ่งปัจจุบันคือโรงพยาบาลศิริราช) เพื่อเป็นสถานที่สำหรับรักษาประชาชนที่เจ็บป่วย

 

ที่มาเนื้อหา : กรุงเทพธุรกิจ