สำนวนสุภาษิตไทยรวมถึงคำพังเพยนั้น นิยมใช้กันมาอย่างยาวนานและแพร่หลาย นับเป็นอีกหนึ่งในวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจของไทยเรา สำนวนไทย สุภาษิตไทยและคำพังเพยนั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น ทั้งทางดีและทางร้าย จนมีการนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาเรียบเรียงถ้อยคำใหม่ในเชิงสั่งสอนหรือเปรียบเทียบ จนเกิดเป็นสํานวนไทย สุภาษิตคำพังเพย และ สุภาษิตสำนวนไทยในที่สุด
————– advertisements ————–
สำนวน สุภาษิต คำพังเพยนั้น ดูเผินๆจะคล้ายกันมากจนแยกกันแทบไม่ออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทั้ง 3 คำมีความแตกต่างกันอยู่ โดยที่สํานวนไทยจะเป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบและมักจะไม่แปลความหมายตรงๆ เช่น กินน้ำใต้ศอก ส่วนสุภาษิตจะเป็นเชิงสั่งสอนหรือให้ข้อคิด เช่น หัวล้านได้หวี วานรได้แก้ว และสุดท้ายคำพังเพย จะเป็นลักษณะของการเปรียบเทียบของสองสิ่ง เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ เป็นต้น
สํานวนไทย สุภาษิต และคำพังเพยที่นิยมใช้กันมีดังนี้
++กดที่สำนวนสุภาษิตแต่ละคำเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม++
สุภาษิต สํานวนไทย หมวด ก-ข
สำนวน สุภาษิต คําพังเพย หมวด ก.
เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน หมายถึง เก็บเล็กผสมน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
เก็บเล็กผสมน้อย หมายถึง เก็บไว้ทีละเล็กละน้อย
เก็บเหรียญตัดหน้ารถสิบล้อ หมายถึง หวังผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย แต่ต้องมีความเสี่ยงใหญ่หลวง
เก็บหอมรอมริบ หมายถึง เก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กละน้อย
เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง หมายถึง เกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา
เกลือเป็นหนอน หมายถึง ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ ไส้เป็นหนอน ก็ว่า
เกลือจิ้มเกลือ หมายถึง ไม่ยอมเสียเปรียบกัน แก้เผ็ดให้สาสมกัน
เกี่ยวแฝกมุงป่า หมายถึง ทําอะไรเกินกําลังความสามารถของตัว
แกงจืดจึงรู้คุณเกลือ หมายถึง จะรู้ค่าของบางสิ่งก็ต่อเมื่อเดือดร้อน
แกว่งเท้าหาเสี้ยน หมายถึง ข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นจนเกิดเป็นเรื่องกลับมาที่ตัวเอง
แกะดำ หมายถึง คนที่ทําอะไรผิดเพื่อนผิดฝูงในกลุ่มนั้น ๆ (ใช้ในทางไม่ดี)
ใกล้เกลือกินด่าง หมายถึง มองข้ามของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตน กลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า
ไก่เเก่เเม่ปลาช่อน หมายถึง หญิงค่อนข้างมีอายุ มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ หมายถึง ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน
ไก่ได้พลอย หมายถึง ได้สิ่งที่มีค่าแต่ไม่รู้คุณค่า จึงไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง หมายถึง ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง
ไก่รองบ่อน หมายถึง ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสำรอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้
ไก่อ่อน หมายถึง อ่อนหัด, ยังไม่ชำนาญ
ไกลปืนเที่ยง หมายถึง ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ, ไม่ทันสมัยเพราะอยู่ไกลจากตัวเมือง
ไกลหูไกลตา หมายถึง อยู่ในที่ที่ดูแลไม่ถึง, อยู่ห่างไกลการติดต่อ
กงเกวียนกำเกวียน หมายถึง เวรสนองเวร กรรมสนองกรรม ทำอย่างไรย่อมได้อย่างนั้น
กบเกิดใต้บัวบาน หมายถึง อยู่ใกล้สิ่งที่ดีงาม แต่ไม่รู้จักคุณค่า
กบเลือกนาย หมายถึง ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาเรื่อยๆ
กบในกะลาครอบ หมายถึง ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก
กรวดน้ำคว่ำขัน หมายถึง ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
กระจอกงอกง่อย หมายถึง ยากจนเข็ญใจ
กระดังงาลนไฟ หมายถึง หญิงที่เคยผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงดีกว่าผู้หญิงที่ยังไม่เคยแต่งงาน
กระดี่ได้น้ำ หมายถึง อาการแสดงความดีใจ หรือตื่นเต้นจนตัวสั่น
กระดูกขัดมัน หมายถึง ขี้เหนียวมากอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่ายๆ
กระดูกร้องไห้ หมายถึง การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ
กระต่ายขาเดียว หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมรับ
กระต่ายตื่นตูม หมายถึง คนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน
กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า
กลิ้งครกขึ้นเขา หมายถึง ทำงานที่ยากลำบากเกินวิสัยที่จะทำได้
กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หมายถึง พะอืดพะอม จะทำอะไรก็ไม่ถนัด
กวนน้ำให้ขุ่น หมายถึง ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ หมายถึง ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่ทันท่วงที
ก่อเเล้วต้องสาน หมายถึง เริ่มอะไรแล้วต้องทําต่อให้เสร็จ
ก่อร่างสร้างตัว หมายถึง ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน
กัดก้อนเกลือกิน หมายถึง ใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นมาก
กาในฝูงหงส์ หมายถึง ผู้ที่ต่ำต้อยไม่มีเกียรติ อยู่ท่ามกลางเจ้าขุนมูลนายสูงศักดิ์
กาฝาก หมายถึง ผู้อาศัยเกาะคนอื่นกิน
ก้างขวางคอ หมายถึง ผู้ที่ขัดขวาง ไม่ให้ทำอะไรได้สะดวก
กำขี้ดีกว่ากำตด หมายถึง ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
กำปั้นทุบดิน หมายถึง ทำหรือพูดส่งเดชพอให้มันพ้นตัว
กิ้งก่าได้ทอง หมายถึง คนที่ได้ลาภยศแล้วทะนงตนลืมฐานะเดิม
กิ่งทองใบหยก หมายถึง เหมาะสมกัน (ใช้แก่หญิงกับชายที่จะแต่งงานกัน)
กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย หมายถึง มีความเป็นอยู่อย่างสบาย นึกจะกินจะตื่นเมื่อไรก็ได้
กินข้าวร้อนนอนสบาย หมายถึง มีความเป็นอยู่อย่างสบาย นึกจะกินจะตื่นเมื่อไรก็ได้
กินที่ลับไขที่แจ้ง หมายถึง เปิดเผยเรื่องที่ทำกันในที่ลับ
กินนอกกินใน หมายถึง เอากำไรในการซื้อขาย ทั้งในราคาและนอกราคาที่กำหนด
กินน้ำใต้ศอก หมายถึง จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า
กินน้ำไม่เผื่อเเล้ง หมายถึง มีอะไรใช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างหน้า
กินบนเรือนขี้บนหลังคา หมายถึง เนรคุณ
กินบุญเก่า หมายถึง ยังมีความดีเหลืออยู่ หรือ อยู่สุขสบายเพราะได้รับผลบุญจากกรรมดีที่ทำไว้แต่ชาติปางก่อน
กินปูนร้อนท้อง หมายถึง ทำอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง
กินอย่างหมู อยู่อย่างหมา หมายถึง เละเทะ ไม่มีระเบียบ
กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง หมายถึง รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทำเป็นไม่รู้
++กดที่สำนวนสุภาษิตแต่ละคำเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม++
สำนวนสุภาษิตไทย หมวด ข.
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หมายถึง ให้มีสติอย่าประมาท
เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม หมายถึง ประพฤติตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย หมายถึง ถูกคอกัน, เข้ากันได้ดี
เข้าด้ายเข้าเข็ม หมายถึง คับขัน, สำคัญ
เข้าตาจน หมายถึง หมดทางไป หมดทางที่จะแก้ไข หมดหนทางหากิน.
เข้าตามตรอก ออกทางประตู หมายถึง การทำตามธรรมเนียมประเพณี
เข้าฝูงหงส์เป็นหงส์ เข้าฝูงกาเป็นกา หมายถึง อยู่ในที่แบบไหน ก็ทำตัวเป็นเช่นนั้น
เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา หมายถึง บอกหรือสอนไม่ได้ผล
เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม
เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า หมายถึง ทำดีแต่แรก แล้วมาทำเสียตอนหลัง
เขี้ยวลากดิน หมายถึง มีความสามารถสูง จัดเจน เล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว
ไข่ในหิน หมายถึง ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง
ไขสือ หมายถึง รู้แล้วทำเป็นไม่รู้
ขนทรายเข้าวัด หมายถึง หาประโยชน์ให้ส่วนรวม
ขนมพอผสมกับน้ำยา หมายถึง ของที่มีอัตราส่วนที่พอดี
ขนหน้าแข้งไม่ร่วง หมายถึง ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายถึง บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ
ขมิ้นกับปูน หมายถึง ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน, ไม่ถูกกัน
ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัวเอง
ขวานผ่าซาก หมายถึง โผงผางไม่เกรงใจใคร
ของหายตะพายบาป หมายถึง ของหายหรือเข้าใจว่าหายแล้วเที่ยวโทษผู้อื่น
ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง หมายถึง ของที่ดูภายนอกแล้วสวยงามดีแต่แท้จริงแล้วภายในไม่ดีเลย
ขายผ้าเอาหน้ารอด หมายถึง ทำให้สำเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้
ขายหมู หมายถึง ขายของได้ในราคาต่ำ ในขณะที่ปัจจุบันราคาสูง
ข้าวก้นบาตร หมายถึง เติบโตมากับวัด โดยอาศัยอาหารจากการบิณฑบาตรของพระ
ข้าวแดงแกงร้อน หมายถึง บุญคุณ
ข้าวไม่เหลือ เกลือไม่พอ หมายถึง ขัดสนไปเสียทุกอย่าง
ข้าวใหม่ปลามัน หมายถึง อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี
ข้าวยากหมากแพง หมายถึง ภาวะขาดแคลนอาหาร, ทุพภิกขภัย
ขิงแก่ หมายถึง ผู้อาวุโสที่มีความสามารถ มีประสบการณ์มากแล้ว
ขิงก็ราข่าก็แรง หมายถึง ต่างไม่ยอมลดละกัน
ขี้เถ้ากลบเพชร หมายถึง แต่แรกทำดีตอนหลังทำเสีย
ขี้แพ้ชวนตี หมายถึง แพ้ตามกติกาแล้ว ยังไม่ยอมรับว่าแพ้ จะเอาชนะด้วยกำลัง
ขี้ไม่ให้หมากิน หมายถึง ขี้เหนียว, ตระหนี่เหนียวแน่น
ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น หมายถึง ทำสิ่งไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น
ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ลงทุนมากแต่ได้ผลน้อย
ขี้หมูขี้หมา หมายถึง ไร้สาระ ไร้ประโยชน์
ขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง หมายถึง เรื่องเล็กๆน้อยๆ
ขึ้นต้นไม้สุดยอด หมายถึง ขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุด, หมดทางเจริญต่อไป
ขุนไม่เชื่อง หมายถึง เนรคุณ
ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย หมายถึง ร้องไห้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน
แหล่งที่มา https://www.เกร็ดความรู้.net/